โรคหลอดเลือดหัวใจ
คำนำ
เมื่อปี พ.ศ. 2018 โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในฮ่องกงเป็นอันดับที่ 3 รองลงมาจากโรคมะเร็ง และโรคปอดบวม ในบรรดาโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ นั้นโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้มีอายุน้อยมีเพิ่มสูงขึ้น
สาเหตุ
- เมื่ออายุของเราเพิ่มมากขึ้น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือแม้กระทั่งถูกปิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอล (หินปูน) ก่อตัวขึ้นจากกระบวนการของภาวะหลอดเลือดแข็ง
- เมื่อหลอดเลือดหัวใจเริ่มตีบตัน หรือปิดลง การไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจจะลดลง และการส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจจะลดลง หรือหยุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการออกกำลังกาย ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก และก่อให้เกิดหัวใจวายในกรณีที่รุนแรง
- ปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจประกอบไปด้วย:
- ความดันโลหิตสูง
- คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- โรคเบาหวาน
- มีนิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
- การสูบบุหรี่
- โรคอ้วน
- ไม่ออกกำลังกาย
- มีความเครียดเรื้อรัง
- ครอบครัวมีประวัติของการมีโรคหลอดเลือดหัวใจ
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ใช้เวลาในการพัฒนาภาวะหลอดเลือดแข็งนาน
อาจไม่แสดงอาการต่าง ๆ
ก่อนที่จะเกิดหัวใจวายในครั้งแรก
ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้:
- เจ็บหน้าอก: ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บหน้าอกหลังจากการออกกำลังกาย หรือมีภาวะเครียด ผู้ป่วยอาจรู้สึกตึงไปทั่วทั้งหน้าอกราวกับว่าถูกกดทับด้วยก้อนหิน อาการเจ็บปวดอาจแผ่ขยายไปถึงแขน หัวไหล่ ลำคอ และกรามล่าง และอาจลดลงหลังจากที่ผู้ป่วยหยุดพักไม่กี่นาที
- หายใจได้ไม่เต็มที่: ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจได้ไม่เต็มที่ และเหนื่อยล้าเมื่อใช้ร่างกายในการออกแรง
- กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (หัวใจวาย) – เริ่มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงขึ้นมาทันทีซึ่งอาจแผ่ขยายไปที่ลำคอ แขน และกรามล่าง ผู้ป่วยอาจมีอาการเหงื่อออกในปริมาณมาก หายใจได้ไม่เต็มที่ คลื่นไส้ และอาเจียน หรือแม้แต่กระทั่งหมดสติ ทุกคนที่มีอาการเหล่านี้ควรเข้ารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุ และฉุกเฉินของโรงพยาบาลทันที
การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถลดโอกาสของโรคหลอดเลือดหัวใจได้จากการลดปัจจัยความเสี่ยง
- ไม่สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์
- ปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้มีความสมดุล ไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย เกลือน้อย และรับประทานอาหารที่มีเส้นในสูง
- รักษาน้ำหนักตัวให้มีสุขภาพดี (ค่าดัชนีมวลกาย <23 กก./ตรม. รอบเอว <90 ซม. สำหรับผู้ชาย และรอบเอว <80 ซม. สำหรับผู้หญิง)
- ทำกิจกรรมด้านแอโรบิกตั้งแต่ระดับกลาง-ระดับเข้มข้น ในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างน้อย 10 นาที เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ การเดิน การฝึกไทเก็ก ว่ายน้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่อสัปดาห์รวมแล้วอย่างน้อย 150 นาที หรือ 75 นาที ด้วยการทำกิจกรรมด้านแอโรบิกที่เข้มข้นอย่างรวดเร็วรวมแล้วอย่างน้อย 75 นาที (หากคุณมีปัจจัยความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โปรดขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทำการออกกำลังกาย)
- จัดการความเครียดให้เหมาะสม
- ควบคุม และรักษาโรคเจ็บป่วยเรื้อรังให้อยู่ในสภาวะที่ดี เช่น โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ด้วยการเข้ารับการติดตามผลการรักษาเป็นประจำ และรับประทานยาตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ