โรคอ้วน
ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นหนึ่งในวิธีการวัดน้ำหนักตัวที่มีมากเกินไป และโรคอ้วน คำนวณได้ด้วยการหารน้ำหนักของร่างกาย (หน่วยเป็น กก.) กับหน่วยวัดของส่วนสูง (หน่วยเป็น เมตร): กก./ตารางเมตร. สำหรับวัยผู้ใหญ่ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในฮ่องกงที่มีค่าดัชนีมวลกาย BMI 23.0-24.9 กก./ตารางเมตร จะจัดว่ามีน้ำหนักเกิน และ BMI ≥25.0 กก./ตารางเมตร จะจัดว่าเป็นโรคอ้วน
อ้วนลงพุง หมายถึง รอบเอว ≥90 ซม. สำหรับผู้ชาย และ ≥80 ซม. สำหรับผู้หญิง
เนื่องจากผู้สูงอายุจำนวนมากไม่สามารถวัดส่วนสูงของตนเองได้เนื่องจากขาดเครื่องมือในการวัดที่เหมาะสม ไม่สามารถยืนตัวตรงได้ หรือไม่ได้รับความช่วยเหลือเป็นต้น การวัดรอบเอวนั้นเป็นวิธีที่รวดเร็ว และเป็นประโยชน์สำหรับการประมินความอ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรคอ้วนลงพุง รอบเอวมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายอย่างใกล้ชิด มันช่วยประเมินไขมันไม่เพียงเฉพาะรอบเอวเท่านั้น แต่ยังช่วยประเมินไขมันทั้งร่างกายอีกด้วย ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคอ้วนนั้นไม่เพียงแต่คำนวณจากปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกายเท่านั้น โรคอ้วนลงพุงมีความเสี่ยงต่อสุขาพเช่นเดียวกันกับผู้ที่มีเปอร์เซ็นต์ไขมันรวมในร่างกายสูงด้วย
โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังหลายอย่าง เช่น โรคภาวะสมองขาดเลือด โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคระบบการเผาผลาญผิดปกติ นิ่วในถุงน้ำดี โรคหัวเข่าเสื่อม หยุดหายใจในขณะหลับ และโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก
สาเหตุ
- พลังงานจากอาหารเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการทำกิจกรรมในแต่ละวัน และรักษาอุณหภูมิให้กับร่างกาย เมื่อจำนวนพลังงานถูกดูดซับมากเกินกว่าความจำเป็น พลังงานส่วนเกินจะสะสมอยู่ในร่างกายในรูปของเนื้อเยื่อไขมัน
- เหตุผลทั่วไปที่ทำให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ได้แก่:
- รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพซึ่งส่งผลมาจากการรับประทานไขมัน หรือแคลอรี่มากจนเกินไป
- การออกกำลังกายไม่เพียงพอส่งผลให้มีการสะสมของไขมันในร่างกาย
- อัตราเผาผลาญลดลงเนื่องจากมีอายุมากขึ้น
- ปัจจัยทางพันธุ์กรรม หรือโรคต่าง ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์
- ผลข้างเคียงของยา เช่น การใช้สเตียรอยด์ในระยะยาว
การรักษาน้ำหนักที่เหมาะสม
- หลักปฏิบัติในการควบคุมน้ำหนักเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน: ลดการบริโภคแคลอรี่ และเพิ่มการใช้พลังงานโดยสามารถทำได้ด้วยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำ สิ่งนี้จะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องอย่างมีความอดทน และไม่ควรลดน้ำหนักเร็วจนเกินไปโดย: ไม่เกิน 2 ปอนด์ต่อสัปดาห์
- การปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแคลอรี่สูง เช่น อาหารที่มีไขมัน อาหารทอด และของว่าง เช่น ไอศครีม มันฝรั่งทอดกรอบ และช็อคโกแลต
- เพิ่มการใช้พลังงานด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำกิจกรรมด้านแอโรบิกตั้งแต่ระดับกลาง-ระดับเข้มข้น ในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างน้อย 10 นาที เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ การเดิน การฝึกไทเก็ก ว่ายน้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่อสัปดาห์รวมแล้วอย่างน้อย 150 นาที หรือ 75 นาที ด้วยการทำกิจกรรมด้านแอโรบิกที่เข้มข้นอย่างรวดเร็วรวมแล้วอย่างน้อย 75 นาที (หากคุณมีปัจจัยความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โปรดขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทำการออกกำลังกาย)
ความเชื่อ และความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก
- มีความเข้าใจผิด ๆ มากมายเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของวิธีการลดน้ำหนักที่ไม่ได้ผล
และไม่เป็นความจริง:
- รับประทานยาระบาย ยาขับปัสสาวะ หรือยาที่อ้างว่าสามารถลดน้ำหนักได้ - ยาเหล่านี้อาจเป็นอันตรายได้
- ไม่รับประทานคาร์โบไฮเดรต - อาหารบางอย่างโดยเฉพาะอาหารปรุงสุกด้วยการใช้น้ำมันปริมาณมากอาจมีปริมาณแคลอรี่สูง
- อดอาหารข้ามมื้อ: อัตราการเผาผลาญลดลงด้วยการลดปริมาณของการรับประทานอาหารซึ่งทำให้น้ำหนักลดยากมากขึ้น
- การใช้วิธีในการลดน้ำหนักไม่ถูกต้องอาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังนั้นเราควรปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อรักษาน้ำหนักที่เหมาะสม