ภาวะสมองขาดเลือด
ภาวะสมองขาดเลือด เกิดจากการอุตัน หรือรั่วของหลอดเลือดในสมองทำให้ออกซิเจน และสารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และส่งผลให้เกิดความเสียหาย หรือเซลล์สมองตายซึ่งนำไปสู่การสูญเสียการทำงานของสมองบางอย่าง เช่น การควบคุมการเคลื่อนไหวของแขน และขา รวมถึงการพูด ผู้ป่วยบางรายอาจมีความสามารถในการดูแลตัวเองลดลง
โรคภาวะสมองขาดเลือดหลัก ๆ มีสองประเภท:
- โรคหลอดเลือดสมองตีบ: เกิดจากการสูญเสียเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองน้อยลง หรือสูญเสียการไหลเวียนโลหิตไปยังเนื้องเยื่อสมองกระทันหัน และปกติแล้ว 80% ของภาวะสมองขาดเลือดอยู่ในประเภท สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ โรคหลอดเลือดแดงในส่วนหลอดเลือดแดงสมอง เลือด อุดตันจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายโดยโรคหัวใจส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดการไหลเวียนของเลือดต่ำ
- ภาวะหลอดเลือดสมองแตก: เส้นเลือดสมองแตกเป็นผลมาจากโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดสมองพิการแต่กำเนิด
อาการของโรคภาวะสมองขาดเลือด
คนส่วนใหญ่จะไม่แสดงสัญญาณของโรคก่อนที่จะเกิดโรคภาวะสมองขาดเลือด การแสดงอาการของโรคภาวะสมองขาดเลือดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของหลอดเลือด รวมถึงระดับของความเสียหาย ผู้ป่วยควรไปที่แผนกอุบัติเหตุ และฉุกเฉินทันทีเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคภาวะสมองขาดเลือดเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้:
- มีอาการชาตามร่างกาย เช่น บนใบหน้า แขน หรือขาข้างเดียว หรือส่วนเดียวของร่างกาย
- แขน หรือขา และร่างกายอ่อนแรงซึ่งมักจะมีอาการเพียงแค่ข้างเดียว
- สูญเสียการทรงตัวอย่างฉับพลัน
- พูดจาไม่ชัดเจน น้ำลายไหล กลืนน้ำลายลำบาก ปากเบี้ยว
- สูญเสียการมองเห็น มองเห็นภาพพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน
- ง่วงนอน และหมดสติ
- อื่น ๆ: เช่น ปวดศีรษะข้างเดียวกันทันหัน วิงเวียนศีรษะอย่างต่อเนื่อง
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) เป็นความผิดปกติของระบบประสาทแบบชั่วคราวซึ่งเกิดจากสมองได้รับบาดเจ็บเฉพาะที่ ไขสันหลัง หรือเส้นเลือดจอตาผิดปกติโดยไม่มีอาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยปกติแล้วจะหายเป็นปกติโดยใช้เวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจมี TIA ครั้งเดียว หรือหลายครั้งได้ และสิ่งนี้อาจแสดงให้เห็นถึงโรคภาวะสมองขาดเลือดจริง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น หากมีอาการต่าง ๆ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ทันทีเมื่อมีสัญญาณเตือนเกิดขึ้น
การป้องกันโรคภาวะสมองขาดเลือด
เมื่อปี 2018 ภาวะสมองขาดเลือดเป็นโรคที่ได้ที่คร่าชีวิตผู้คนในฮ่องกงเป็นอันดับที่สี่ รองลงมาจากโรคมะเร็ง โรคปอดบวม และโรคหัวใจ เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้มากกว่าเนื่องจากหลอดเลือดแดงสมองเป็นหลัก ผลการศึกาษาแสดงว่าการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคภาวะสมองขาดเลือดจะทำให้โอกาสของการเกิดโรคลดลงไปด้วย
- หยุดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมด้านแอโรบิกตั้งแต่ระดับกลาง – ระดับเข้มข้นในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างน้อย 10 นาที เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ การเดิน การฝึกไทเก็ก ว่ายน้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่อสัปดาห์รวมแล้วอย่างน้อย 150 นาที หรือ 75 นาที ด้วยการทำกิจกรรมด้านแอโรบิกที่เข้มข้นอย่างรวดเร็วรวมแล้วอย่างน้อย 75 นาที (หากคุณมีปัจจัยความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โปรดขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทำการออกกำลังกาย)
- จัดการความเครียดให้เหมาะสม และพยายามคิดบวก
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง ไขมันทรานส์สูง คอเลสเตอรอลสูง และอาหารที่มีปริมาณเกลือสูง
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- ผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือเคยมีอาการของโรคภาวะสมองขาดเลือด ควรติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ และได้รับการรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถควบคุมความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดได้
- ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคภาวะสมองขาดเลือด หรือโรคหัวใจขาดเลือดจำเป็นต้องใช้ยาป้องกัน ควรมีการติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอควบคู่กับการใช้ยาในการรักษา
เป้าหมายของการดูแลพยาบาลโรคภาวะหัวใจขาดเลือด:
- ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้วยการมุ่งเน้นทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ
- เพิ่มความสามารถในการดูแลตัวเองของผู้ป่วย: เรียนรู้ทักษะที่เหมาะสมในการฟื้นฟูกิจกรรมปกติรายวัน และลดการพึ่งพาผู้อื่น สิ่งนี้สามารถช่วยชะลอการเสื่อมสภาพในการทำงาน และลดภาระของผู้ดูแล
- รักษาการทำงานของแขน หรือขา และร่างกายเพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บปวดจากการนอนบนเตียง ภาวะปอดติดเชื้อ ปัญหาการสูดสำลักเข้าปอด และปัญหาบริเวณหัวไหล่
โรคภาวะหัวใจขาดเลือดอาจเป็นภาวะที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ อย่างไรก็ตามการรักษาที่เหมาะสมจะทำให้เพิ่มกำลังให้กับผู้ป่วยให้กลับมามีส่วนร่วมได้ ผู้ป่วย และผู้ดูแลควรเข้าขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม