การป้องกันการลื่นหกล้ม

ผลลัพธ์ของการลื่นหกล้ม

จากสถิติของศูนย์สุขภาพผู้สูงอายุเมื่อปี 2017 พบว่าในกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปี หรือมากกว่าจำนวน 45,000 ที่อาศัยอยู่ในชุมชนมี 10.1% ประสบกับการลื่นหกล้มอย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 6 เดือน ในบรรดาผู้ที่เคยลื่นหกล้ม มี 10.2% กระดูกได้รับการแตกหัก การลื่นหกล้มเป็นหนึ่งในภาวะที่ทำให้ผู้สูงอายุไร้ความสามารถมากที่สุดซึ่งจะมีผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย ความเป็นอิสระ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ นอกจากนั้นการลื่นหกล้มยังผลกระทบอย่างเห็นได้ชัดต่อความมั่นใจในตัวเองของผู้สูงอายุ — ผู้สูงอายุบางคนอาจหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านหลังจากประสบกับการลื่นหกล้มเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเนื่องจากกลัวว่าจะเกิดการหกล้มขึ้นอีกครั้ง การดำเนินชีวิตในสังคมของพวกเขาจึงได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อการพัฒนาด้านอารมณ์ได้น้อยลง หรือเกิดภาวะซึมเศร้า การลื่นหกล้มอาจทำให้เสียชีวิตได้หากผู้สูงอายุลื่นหกล้มไม่สามารถลุกขึ้น และขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้


ปัจจัยเสี่ยงของการลื่นหกล้ม

การลื่นหกล้มไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ — การลื่นหกล้มมักเกิดขึ้นจากความเกี่ยวข้องกันกับปัจจัยความเสี่ยงหลายอย่าง เช่น:

  • ความบกพร่องทางการมองเห็น
  • ความสมดุลของร่างกายไม่ดี เช่น มีโรคพาร์กินสัน ภาวะสมองขาดเลือด หรือสมองเสื่อม เป็นต้น
  • ข้อต่อ หรือมีปัญหาในการเดิน เช่น มีโรคข้อเข่าเสื่อม และภาวะสมองขาดเลือด
  • วิงเวียนศีรษะ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ และความดันโลหิตต่ำขณะมีการเปลี่ยนท่าทาง
  • ผลข้างเคียงของยา เช่น วิงเวียนศีรษะ หรือความสมดุลของร่างกายไม่ดีอันเนื่องมาจากการใช้ยาต้านความดันโลหิตสูง หรือใช้ยานอนหลับ
  • ความเครียดอันเกิดจากภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • เสื้อผ้าไม่เหมาะสม เช่น ยาวมากเกินไป หรือหลวมมากเกินไป
  • อันตรายของสิ่งแวดล้อมในบ้าน เช่น พื้นลื่น ไฟส่องสว่างไม่เพียงพอ สิ่งกีดขวางบนพื้น และเฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่ในบ้านไม่เหมาะสม

การป้องกันในมุมมองหลาย ๆ ด้าน

การลื่นหกล้มสามารถที่จะป้องกันได้แต่ต้องใช้แนวทางปฏิบัติหลายอย่างที่จำเป็นจะต้องระบุปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ผู้สูงอายุควรได้รับคำแนะนำให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อของพวกเขา และเพื่อพัฒนาความยืดหยุ่น ความสมดุล และการใช้อวัยวะต่าง ๆ ร่วมกันของร่างกาย (เช่น ไทเก็ก) ผู้สูงอายุยังจำเป็นต้องทราบเคล็ดลับต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการลื่นหกล้มอีกด้วย


เคล็ดลับในการป้องกันการลื่นหกล้ม

  1. ระมัดระวังอันตรายของสภาพแวดล้อมในบ้าน
    รักษาทางเดินให้ปราศจากสิ่งกีดขวางอยู่เสมอ
    • กำจัดวัตถุที่ไม่จำเป็นออกจากทางเดิน รักษาพื้นทางเดินให้แห้งอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการขัดเงาพื้น
    • ทาสีขอบประตูด้วยสีที่ชัดเจน หรือติดเทปที่มีสีสว่างตามขอบประตู

    เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสม

    • เลือกเก้าอี้ที่แข็งแรงมั่นคง และมีความสูงที่เหมาะสม
    • หลีกเลี่ยงการนั่งบนโซฟา เก้าอี้ที่มีความสูงระดับต่ำ เก้าอี้พับ หรือเก้าอี้มีล้อ
    • เลือกเก้าอี้ที่มีที่พักแขนเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการยืนขึ้น
    มีแสงสว่างที่เพียงพอ
    • ติดตั้งหลอดไฟที่ให้แสงสว่างสำหรับตอนกลางคืน หรือโคมไฟที่ข้างเตียงนอน
    • ติดตั้งตำแหน่งสวิช์เปิด-ปิดในที่ซึ่งสะดวกในการใช้งาน
    ความปลอดภัยในห้องครัว และห้องน้ำ
    • ใช้เสื่อกันลื่นแทนการใช้ผ้าเป็นเสื่อบนพื้น
    • ใช้กระเบื้องกันลื่นในห้องอาบน้ำ ใช้เทปกันลื่น และติดตั้งราวจับในอ่างอาบน้ำ
  2. เลือกสวมใส่เสื้อผ้า และรองเท้าที่เหมาะสม
    เสื้อผ้า
    • สวมใส่เสื้อผ้าที่พอดีกับร่างกาย — หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่ยาวจนเกินไป หรือหลวมจนเกินไป
    • เลือกเสื้อผ้า และกางเกงที่ง่ายต่อการสวมใส่ และถอดออก
    รองเท้า
    • เลือกรองเท้าที่สวมใส่ได้พอดี
    • เลือกรองเท้าที่มีพื้นกันลื่น
    • เปลี่ยนรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าชำรุด
    • หลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าแตะเมื่อออกไปนอกบ้าน หรือสวมใส่ถุงเท้าเมื่อเดินอยู่ในตัวบ้าน
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเชือกรองเท้าผูกไว้อย่างเหมาะสม หรือสวมใส่รองเท้าที่สามารถปรับขนาดได้ด้วยสายรัดที่ทำจากเวลโคร หรือซิป
  3. ดำเนินการดูแลตนเองและงานบ้านอย่างปลอดภัย
    การเคลื่อนไหวร่างกาย
    • ห้ามประเมินความสามารถของคุณสูงจนเกินไป รักษาการเคลื่อนไหวให้เป็นไปอย่างช้า ๆ ในขณะที่มีการเปลี่ยนท่าทาง (เช่น การลุกขึ้นจากเตียงนอน การยืนขึ้น)
    • นั่งอยู่กับที่เมื่อการเคลื่อนไหวต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้ความสมดุล เช่น การสวมใส่กางเกง
    การเก็บรักษาพลังงาน —นั่งให้มากขึ้น และยืนให้น้อยลง
    • นั่งลงในขณะที่ทำงานบ้าน เช่น รีดเสื้อผ้า การเตรียมอาหาร
    • ทำงานบ้านที่หนัก และเบาสลับกัน
    เก็บสิ่งที่จำเป็นไว้ใกล้มือ
    • เก็บสิ่งของที่จำเป็น เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าสตางค์ กุญแจต่าง ๆ และเสื้อผ้าไว้ในสถานที่ซึ่งมีความสูงอยู่ระหว่างช่วงเอว ถึงหัวไหล่
    หลีกเลี่ยงการเอื้อมมือ หรือการนั่งยอง ๆ
    • ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเมื่อมีความจำเป็น เช่น อุปกรณ์ช่วยในการเอื้อมหยิบ เชือกช่วยทำความสะอาด ช้อนช่วยสวมใส่รองเท้า เป็นต้น
    หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีความเสี่ยง
    • ขอความช่วยเหลือหากมีความจำเป็น
    ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ
    • ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์เพื่อช่วยป้องกันการลื่นหกล้ม: อุปกรณ์ช่วยในการเอื้อมหยิบที่มีด้ามยาว ช้อนช่วยสวมใส่รองเท้าที่มีด้ามยาว และอุปกรณ์ช่วยในการสวมใส่ถุงเท้า
    • ใช้อุปกรณ์ช่วยในการเดินให้เป็นประโยชน์: โครงเหล็กช่วยเดินไม้เท้าฐานสี่เหลี่ยม และไม่เท้า
    • สวมใส่กางเกงป้องกันสะโพกเพื่อลดความเสี่ยงจากการแตกหักของกระดูกหลังจากลื่นหกล้ม
  4. ระมัดระวังตัวเมื่อออกไปนอกบ้าน
    ระมัดระวังตัวเมื่อออกไปนอกบ้าน
    • หลีกเลี่ยงการทำงานหลายอย่าง หรือเร่งรีบ
    • ใช้ความระมัดระวังเมื่อเดินขึ้น หรือเดินลงบันได และบันไดเลื่อน รวมทั้งจับราวบันได
    • ปล่อยมือให้ว่างจากการถือสิ่งของอยู่เสมอเพื่อการฉุกเฉิน
  5. ใช้ทรัพยากรทางสังคมอย่างชาญฉลาด
    งานบ้าน ผู้สูงอายุควรพูดคุยหารือกับสมาชิกครอบครัวเกี่ยวกับการแบ่งปันงานบ้านหากผู้สูงอายุพบว่ามีอุปสรรคในการทำงานบ้าน ผู้สูงอายุยังสามารถใช้บริการด้านการส่งอาหาร บริการทำความสะอาดบ้าน หรือบริการดูแลที่บ้านได้หากมีความจำเป็น
    การดูแลครอบครัว
    • สมาชิกครอบครัวสามารถใช้บริการเพื่อบรรเทาภาวะได้ หรือบริการศูนย์ช่วยดูแลในเวลากลางวันในกรณีที่สมาชิกในครอบครัวไม่ไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ชั่วคราว หรือผู้สูงอายุที่ต้องการการฟื้นฟูตามลำดับ
    ผู้สูงอายุอาศัยอยู่คนเดียวตามลำพัง
    • ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่คนเดียวสามารถใช้สัญญาณแจ้งเตือนความปลอดภัยส่วนตัว หรือโทรศัพท์มือถือที่ออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะได้

การดูแลจัดการการลื่นหกล้ม

ผู้สูงอายุควรประเมินความเสี่ยงของตนเองจากการลื่นหกล้มโดยไม่คำนึงถึงการลื่นหกล้มก่อนหน้านี้ หลังจากมีการลื่นหกล้ม ผู้สูงอายุควรจะปฏิบัติดังต่อไปนี้:

ทำจิตใจให้สงบ

ประเมินระดับของการบาดเจ็บ เคลื่อนไหวร่างกายช้า ๆ หากได้รับบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง

เคลื่อนไหวร่างกายไปตามพื้นจนกว่าคุณจะสามารถเอื้อมถึงผนัง หรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีความแข็งแรง และมั่นคง แล้วพยายามลุกขึ้นด้วยการใช้เฟอร์นิเจอร์ในการพยุงตัวเอง

หากคุณไม่สามารถลุกขึ้นได้ คุณควรใช้โทรศัพท์เพื่อโทรขอความช่วยเหลือผ่านทางบริการที่เชื่อมต่อไปยังเหตุการณ์ฉุกเฉินส่วนตัว หรือเปิดประตูที่ใช้ในการเข้า-ออกเป็นทางหลัก และส่งเสียงเรียกของความช่วยเหลือออกมาดัง ๆ

ทำความสะอาดบาดแผลก่อนหากมีรอยขีดข่วน

แม้ว่าจะไม่มีบาดแผลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน คุณก็ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ทันทีหากคุณมีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือเจ็บปวดอย่างรุนแรงเนื่องจากคุณอาจประสบกับการแตกหักของกระดูกได้

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันการลื่นหกล้ม โปรดเข้าชมที่:
https://www.elderly.gov.hk/english/healthy_ageing/healthy_living/falls.html