โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน (DM หรือเรียกสั้น ๆ ว่าโรคเบาหวาน) เป็นโรคเกี่ยวกับภาวะการเผาผลาญผิดปกติเรื้อรัง เมื่อมีการหลั่งสารอินซูลินออกมาไม่เพียงพอ หรืออินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจะทำให้กลูโคสในเลือดไม่สามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานอย่างที่ร่างกายของมนุษย์ต้องการได้ เป็นผลให้เกิดระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และทำลายหลอดเลือด รวมถึงน้ำตาลส่วนเกินจะถูกขับออกทางปัสสาวะ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุไว้ว่าโรคเบาหวาน หมายถึง การที่ร่างกายไม่ได้รับน้ำตาลในเลือด (ระดับน้ำตาลในเลือดหลังการควบคุมการรับประทานอาหารตั้งแต่ 8 ชั่วโมง ยกเว้นการดื่มน้ำ) เท่ากับ หรือสูงกว่า 7.0 มิลลิโมล/ลิตร หรือระดับน้ำตาลในเลือดสองชั่วโมงหลังรับประทานอาหารเท่ากับ หรือสูงกว่า 11.1 มิลลิโมล/ลิตร


ชนิดของโรค DM

  1. โรค DM ชนิดที่ 1: คิดเป็น 5% ถึง 10% ของผู้ป่วยโรค DM มักเกิดขึ้นกับเด็ก และผู้ใหญ่วัยทำงานมากกว่าเนื่องจากความล้มเหลวของตับอ่อน ผู้ป่วยเหล่านี้จะต้องพึ่งพาการฉีดอินซูลิน
  2. โรค DM ชนิดที่ 2: ประเภทที่พบกันมากที่สุดซึ่งมีผู้ป่วยโรคเบาหวานประมาณ 90% ถึง 95% เป็นผู้ป่วยในประเภทนี้ ร่างกายไม่ผลิตอินซูลินในปริมาณที่เพียงพอ หรือการนำมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพ อาการมักจะค่อย ๆ พัฒนาเพิ่มขึ้น และบางคนอาจไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะเริ่มแรก ส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อวัยกลางคน และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติของการเกิดโรค DM ในครอบครัว โรคอ้วน นิสัยการรับประทานอาหารไม่ดี หรือขาดการออกกำลังกาย
    การรักษาจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค สำหรับกรณีที่ไม่รุนแรงนั้น การควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสมอาจเพียงพอแล้ว คนอื่นอาจจำเป็นต้องรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่มีการควบคุมโรค DM ไม่ดีอาจต้องฉีดยาอินซูลิน
  3. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์: ผู้หญิงเหล่านี้พัฒนาโรคเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ซึ่งจะมีระดับลดลงหลังการคลอดบุตร พวกเขามีความเสี่ยงสูงที่โรคจะพัฒนาไปเป็นโรค DM ชนิดที่ 2 ในภายหลัง
  4. โรคเบาหวานที่สอง: หมายถึงโรคเบาหวานที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคเบาหวานอื่น ๆ (เช่น คางทูม ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง หรือการใช้ยา สเตียรอยด์ในระยะยาว)

ปัจจัยความเสี่ยง

  • อายุ ≥ 45 ปี
  • น้ำหนักเกิน และโรคอ้วน
  • ประวัติของการรับน้ำตาลเข้าร่างกายบกพร่อง หรือความทนทานของระดับน้ำตาลบกพร่อง
  • ภาวะการเผาผลาญผิดปกติ
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจ และหลอดเลือด (เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะสมองขาดเลือด โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ)
  • การแสดงปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ และหลอดเลือดอื่น ๆ (เช่น ภาวะสารไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย)
  • ประวัติของครอบครัว (ลำดับญาติแรก) มีโรคเบาหวาน
  • สตรีที่มีประวัติของการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่
  • การบำบัดด้วยสเตียรอยด์ในระยะยาว

อาการของโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยบางรายไม่แสดงอาการที่เห็นได้ชัดเจน และจะพบอาการได้ก็ต่อเมื่อมีการตรวจร่างกายเท่านั้น อาการที่พบโดยทั่วไป ได้แก่:

  • ปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณของปัสสาวะเพิ่มขึ้น
  • รู้สึกกระหายน้ำมากจนเกินไป
  • มีอาการเหนื่อยล้า
  • น้ำหนักตัวลดลงแม้ว่าจะรับประทานอาหารเพิ่มมากขึ้น
  • คันบนผิวหนังในบริเวณร่มผ้า
  • ติดเชื้อที่บริเวณบาดแผล และแผลหายช้า

ภาวะแทรกซ้อน

  • ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน: การหมดสติอาจเกิดขึ้นได้เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมีสูงจนเกินไป (ภาวะติโคซิส ภาวะช็อคจากน้ำตาลในเลือดสูง) หรือน้อยจนเกินไป (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) นี่เป็นสถานการณ์ฉุกฌแน และผู้ป่วยจะต้องถูกนำตัวไปโรงพยาบาลทันที
  • ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง: การได้รับระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปในระยะยาวจะทำลายหลอดเลือด และสามารถก่อให้เกิดโรคในระบบ และอวัยวะต่าง ๆ รวมไปถึงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด จอประสาทตา ไต และเส้นประสาท สิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู่โรคไตวาย ตาบอด โรคหัวใจ และหลอดเลือด ภาวะสมองขาดเลือด และเกิดบาดแผลที่แขน หรือขาส่วนล่าง ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในการลดความสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว

วิธีการควบคุมโรคเบาหวาน

  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม สามารถแก้ไขการหลั่งอินซูลินได้หากมีการลดน้ำหนักส่วนเกิน
    (ดัชนีมวลกาย <23 กก./กก./ตรม. รอบเอว <90 ซม. สำหรับผู้ชาย และรอบเอว <80 ซม. สำหรับผู้หญิง)
  • ปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้มีความสมดุล ไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย เกลือน้อย และรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง
  • ทำกิจกรรมด้านแอโรบิกตั้งแต่ระดับกลาง-ระดับเข้มข้นในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างน้อย 10 นาที เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ การเดิน การฝึกไทเก็ก ว่ายน้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่อสัปดาห์รวมแล้วอย่างน้อย 150 นาที หรือ 75 นาที ด้วยการทำกิจกรรมด้านแอโรบิกที่เข้มข้นอย่างรวดเร็วรวมแล้วอย่างน้อย 75 นาที (หากคุณมีปัจจัยความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โปรดขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทำการออกกำลังกาย)
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ: ร่วมมือกับแพทย์ของคุณเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษาสำหรับระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และดัชนีมวลกาย ทำการประเมินสุขาพอย่างสม่ำเสมอ และดูว่ามีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เกิดขึ้น รับประทานยา หรือฉีดอินซูลินตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภา ขอคำแนะนำจากแพทย์เมื่อคุณรู้สึกไม่สบายหลังจากการใช้ยา ไม่ปรับเปลี่ยนปริมาณของยาด้วยตัวคุณเอง หรือไม่หยุดรับประทานยาเอง

การป้องกัน

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการลดปัจจัยความเสี่ยงจะทำให้เราสามารถลดโอกาสของการเป็นโรคเบาหวานได้

  1. รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่
  2. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  4. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเข้าชมเว็บไซต์ "คณะทำงานเฉพาะกิจด้านการอ้างอิงของฮ่องกงเพื่อดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในระดับเบื้องต้น 【ฉบับของผู้ป่วย】"