ทำความรู้จักกับสัญญาณเตือนสุขภาพ
สัญญาณเตือนสุขภาพที่ท่านจำเป็นต้องรู้จัก
ผู้สูงอายุควรทราบสภาวะร่างกายของตนเองอยู่เสมอ
และขอคำแนะนำทางการแพทย์แต่เนิ่นๆ
ในกรณีที่สังเกตพบสัญญาณผิดปรกติใดๆ หรือรู้สึกไม่สบาย
แพทย์จะประเมินสุขภาพและตรวจร่างกายเพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง
อย่ารอช้าหรือปล่อยไว้จนกว่าจะถึงวันที่นัดตรวจสุขภาพครั้งถัดไป
ต่อไปนี้เป็นสัญญาณเตือนบางอย่างที่พบบ่อย:
1. | เจ็บหรือแน่นหน้าอก
(อาจรู้สึกเหมือนมีอะไรกดทับ)
ชาหรือเจ็บปวดบริเวณคอและ/หรือไหล่ โดยเฉพาะเมื่อออกแรงหรืออารมณ์เสีย อาจเกิดร่วมกับเหงื่อออก คลื่นไส้ หายใจลำบากหรือเวียนศีรษะ อาการเหล่านี้สามารถเป็นสัญญาณบอกว่ากำลังจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ควรไปพบแพทย์ที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินทันที |
2. | การเกิดอาการชากะทันหัน อาการอ่อนแรงหรือชา (แม้ว่าจะเป็นชั่วคราว) โดยเฉพาะหากมีผลต่อด้านเดียวของร่างกายจะสามารถเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองได้ ควรไปพบแพทย์ที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินทันที |
3. | ไอไม่หาย ไอมากขึ้นหรือมีเลือดในเสมหะ |
4. | ก้อนบนร่างกายแม้จะไม่รู้สึกเจ็บปวด |
5. | การขับถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลง (เช่น ท้องร่วง ท้องผูก เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์) ปวดท้อง อุจจาระมีมูกหรือเลือด |
6. | ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดหลังวัยหมดระดู |
7. | ลักษณะของหูด ไฝ เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน หรือมีบาดแผลหรือแผลเปื่อยที่ไม่ยอมสมาน |
8. | น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ |
9. | อารมณ์เศร้าไม่หาย (เป็นเวลานานกว่า 2
สัปดาห์) หมดความสนใจในงานอดิเรกและกิจกรรมต่างๆ หรือมีปัญหาการนอนหลับ |
10. | กลืนลำบาก |
หากสัญญาณใดข้างต้นเป็นอยู่ไม่หาย ให้ไปพบแพทย์โดยไม่ลังเล
ตรวจหาภาวะสมองเสื่อมแต่เนิ่นๆ
สมองเสื่อมเป็นโรคเสื่อมรูปแบบหนึ่งที่มีผลต่อเซลล์สมอง
ทำให้การทำงานของสมองในด้านการเรียนรู้และความจำลดลง
ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการเสื่อมตามวัยตามปรกติ
ผู้ป่วยจะเกิดอาการมากขึ้นเรื่อยๆ
เริ่มจากการสูญเสียความจำไปจนถึงสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเองอย่างสิ้นเชิง
การตรวจหาภาวะสมองเสื่อมแต่เนิ่นๆ
จะทำให้วินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
และช่วยรักษาความสามารถในการดูแลตนเองไว้
สมาชิกในครอบครัวควรคอยระวังว่าสมาชิกผู้สูงวัยในครอบครัวของตนประสบปัญหาใดในชีวิตประจำวั
นที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ
หรือไม่ (เช่น
ต้องอาศัยความช่วยเหลือของผู้อื่นในการทำกิจวัตรประจำวัน)
ตลอดจนถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรืออารมณ์
ตัวอย่างเช่น:
1. | การสูญเสียความจำที่ขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวัน |
2. | มีอุปสรรคในการวางแผน หรือการแก้ปัญหา |
3. | ทำงานที่คุ้นเคยให้สำเร็จได้ยาก |
4. | สับสนกับเวลา หรือสถานที่ |
5.. | มีปัญหาในการเข้าใจภาพที่มองเห็น และความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของวัตถุที่สัมพันธ์กับตัวเอง หรือกับวัตถุอื่น |
6. | ปัญหาใหม่ ๆ ที่มีคำศัพท์ในการพูด หรือการเขียน |
7. | วางสิ่งต่าง ๆ ผิดที่ และสูญเสียความสามารถในการหวนคิดย้อนหลัง |
8. | มีความบกพร่องในการตัดสินใจ |
9. | ถอยห่างออกจากการทำงาน หรือกิจกรรมทางสังคม |
10. | การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ และบุคลิกภาพ |
สิ่งใดก็ตามข้างต้นนี้สามารถเป็นสัญญาณระยะแรกของภาวะสมองเสื่อมได้ กรุณาขอคำแนะนำแต่เนิ่นๆ จากผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์