โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร
ความดันโลหิต คือ ความดันที่มีผลต่อหลอดเลือดในระหว่างการหดตัว และคลายตัวของหัวใจ ความดันนี้มักอธิบายในรูปแบบของมิลลิเมตรปรอท (mmHg) ความดันที่บันทึกได้ระหว่างการหดตัวของหัวใจจะเรียกว่า "ความดันซิสโตลิก" (SBP) และความดันที่บันทึกได้ระหว่างการคลายตัวของหัวใจจะเรียกว่า "ความดันไดแอสโตลี" (DBP)
ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่ SBP สูงกว่า หรือเท่ากับ 140 mmHg หรือ DBP จะสูงกว่า หรือเท่ากับ 90 mmHg
สถานการณ์ในฮ่องกง
ความดันโลหิตสูงนั้นพบได้มากในฮ่องกง การสำรวจสุขภาพประชากรประจำปี 2014/2015 ได้เปิดเผยว่า 27% ของประชากรที่มีอายุ 15 ปี และมากกว่ามีโรคความดันโลหิตสูง จำนวนของผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นตามอายุ ตั้งแต่ 4.5 % สำหรับผู้ที่มีอายุ 15-24 ปี ถึง 64.8% สำหรับผู้ที่มีอายุ 65-84 ปี
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
- ส่วนใหญ่ 90% ของโรคความดันโลหิตสูงไม่มีสาเหตุที่แน่นอน และจะเรียกว่า "ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด" ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวอาจเกี่ยวข้องกับโรคได้มีการอธิบายไว้ด้านล่าง
- 10% ของโรคความดันโลหิตสูง เป็นอันดับที่สองรองจากโรคอื่น ๆ เช่นโรคไตวายเรื้อรัง และโรคต่อมไร้ท่อ
ปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคความดันโลหิตสูง
การสูบบุหรี่
- น้ำหนักเกิน และโรคอ้วน
- ไม่มีการออกกำลังกาย
- รับประทานเกลือในปริมาณสูง
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- อายุเพิ่มมากขึ้น
- ประวัติของครอบครัว (ลำดับญาติแรก) มีโรคความดันโลหิตสูง
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ มักจะค้นพบภาวะของโรคในระหว่างการตรวจสุขภาพตามปกติ หรือเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน
- ความดันโลหิตสูงมากอาจก่อให้เกิดอาการ เช่น วิงเวียนศีรษะ มีปัญหาในการมองเห็น ปวดศีรษะ หน้าแดง และเหนื่อยล้า
ภาวะแทรกซ้อน
โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา และไม่มีการควบคุมสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น หัวใจล้มเหลว โรคหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจ ภาวะสมองขาดเลือด โรคไตวาย เป็นต้น โรคความดันโลหิตสูงที่ไม่มีการควบคุมเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตได้ การตรวจวินิจฉัยโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมสามารถป้องกัน หรือชะลอภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การคอยตรวจสอบความดันโลหิตเป็นประจำ
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการที่เห็นได้ชัดเจน วัยผู้ใหญ่ควรได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ 1
หมวดหมู่ของความดันโลหิต | ความดันโลหิต (mmHg) | คำแนะนำ | |
ซิสโตลิก | ไดแอสโตลี | ||
เหมาะสม | ต่ำกว่า 120 | ต่ำกว่า 80 | ตรวจสอบอีกครั้งในอีก 2 ปีถัดไป (ปีละหนึ่งครั้งสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า75 ปี) |
ปกติ | 120-129 | 80-84 | ตรวจสอบอีกครั้งในอีก 1 ปีถัดไป |
สูงกว่าปกติ | 130-139 | 85-89 | ตรวจสอบอีกครั้งในอีก 6 เดือนถัดไป |
ความดันโลหิตสูง | สูงกว่า หรือเท่ากับ 140 | สูงกว่า หรือเท่ากับ 90 | ขอรับคำปรึกษาจากแพทย์โดยเร็วที่สุด |
1แพทย์อาจปรับเปลี่ยนระยะเวลาตรวจสอบตามข้อมูลที่สามารถเชื่อถือได้จากการวัดความดันโลหิตที่ผ่านมา ปัจจัยความเสี่ยงของโรคหัวใจ และหลอดเลือดอื่น ๆ หรือโรคต่าง ๆ ที่ทำความเสียหายให้กับอวัยวะเป้าหมาย
หลังจากได้รับประวัติการรักษาของผู้ป่วย และทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดแล้ว แพทย์จะจัดเตรียมการตรวจสอบอื่น ๆ หากมีความจำเป็น เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจด้วยไฟฟ้า การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก และการตรวจอวัยวะเพื่อค้นหาสาเหตุ และภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
การจัดการกับโรคความดันโลหิตสูง
การจัดการกับโรคความดันโลหิตสูงนั้นขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของผู้ป่วยในการมีส่วนร่วมเชิงรุกในการดูแลจัดการตนเอง และนำแนวทางการปฏิบัติด้านการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพดีมาปรับใช้:
รับประทานยาตามแพทย์สั่งจ่าย และเข้ารับการติดตามผลการตรวจเป็นประจำ
- คอยตรวจสอบความดันโลหิตด้วยตนเอง
- รักษาการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพดี
- หยุดสูบบุหรี่
- รักษาน้ำหนักตัว และรอบเอว (ค่าดัชนีมวลกาย <23 กก./ตารางเมตร รอบเอว <90 ซม. สำหรับผู้ชาย และรอบเอว<80 ซม. สำหรับผู้หญิง)
- ปรับเปลี่ยนนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดการรับประทานปริมาณเกลือ และรับประทานผัก และผลไม้ให้มากขึ้น
- ทำกิจกรรมด้านแอโรบิกตั้งแต่ระดับกลาง-ระดับเข้มข้น ในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างน้อย 10 นาที เช่น การวิ่งเหยาะ ๆ การเดิน การฝึกไทเก็ก ว่ายน้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่อสัปดาห์รวมแล้วอย่างน้อย 150 นาที หรือ 75 นาที ด้วยการทำกิจกรรมด้านแอโรบิกที่เข้มข้นอย่างรวดเร็วรวมแล้วอย่างน้อย 75 นาที (หากคุณมีปัจจัยความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โปรดขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทำการออกกำลังกาย)
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
- จัดการความเครียดให้เหมาะสม และคิดบวกเสมอ
- สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โปรดเข้าชมเว็บไซต์ "คณะทำงานเฉพาะกิจด้านการอ้างอิงของฮ่องกงเพื่อดูแลผู้ใหญ่ที่มีโรคความดันโลหิตสูงในระดับเบื้องต้น【ฉบับของผู้ป่วย】" & "คณะทำงานเฉพาะกิจด้านการอ้างอิงของฮ่องกงเพื่อการดูแลการป้องกันสำหรับผู้ใหญ่ที่มีโรคความดันโลหิตสูงในระดับเบื้องต้น" หรือขอคำแนะนำจากแพทย์ของคุณ